วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร
           ( http://th/ Wikipedia.org/wiki/ ) ทฤษฎีการเรียนรู้ (leaning theory)
การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้
ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฎิสัมพันธ์กับผู้เรียน

สรุป    การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงเดิมเป็นพฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มี 3 ด้าน ดั้งนี้พฤติกรรมด้านสมอง ได้แก่ ความรู้-ความจำ ความเข้าใจด้านจิตใจ ได้แก่อารมณ์ ความเชื่อ ความสนใจ ทัศนคติพฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท

   บรรณานุกรม

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง

                  กิดานันท์   มลิทอง  (2540 : 285)  ได้กล่าวเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อหลายมิติไว้ว่ามีรูปแบบต่างๆดังนี้
การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย  (CAI)
แผ่นวีดีทัศน์ชิงโต้ตอบ
กานสอนบนเว็บ  (web-based  Instruction )
ความเป็นจริงเสมือน
ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ

สื่อประสม คืออะไร

สื่อประสม  คืออะไร
                 กิดานันท์    มลิทอง (2540 : 267)  ได้กล่าวเกี่ยวกับสื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลายๆ ประเภทมาใช้รวมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน  โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการผลิตหรือการผลิตการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศ และเสียง

                   (http://www.sahavicha.com/ )  สื่อประสม  หมายถึง  การนำเอาสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในกานเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ถาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศ และเสียง    

ที่มา

สื่อการสอน คืออะไร

สื่อการสอน    คืออะไร
                     สมบูรณ์  สงวนญาติ  (2534 : 43-44)   สื่อการสอน    หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอนดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัตถุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นมารวมทั้งวิธีการสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
                     ชัยยงค์   พรหมวงศ์  (2520 : 95) สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทิภาพ
                      ชอร์ส  (http://pinapple-eyes.snru.ac.th/stm/index)
กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่างๆเช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
                      บราวน์  (http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index )
กล่าวว่า หมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่างๆที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอนกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฎการการทดลอง จนการสัมภาษณ์และการสำรวจ  เป็นต้น
                      เปรื่อง   กุบุทhttp://pineappleeyes.snru.ac.th/stm/index
กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุงหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี
              สรุป   สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางถ่ายถอกความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู้ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index
http://pineappleeyes.snru.ac.th/stm/index

เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร

 เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีบทบาทในการศึกษามีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างเป็นอย่างไร
                 ไพฑูรย์   ศรีฟ้า  (2546:ไม่ระบุ)  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่างเช่น
1.อินเตอร์เน็ต (Internet) เพื่อใช้ในการศึกษาหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่างๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail หรือ E – mail )  เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
3.การจัดทำ website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแผ่ขาวสารของสถานศึกษาเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา กับผู้ที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
4.การใช้โปรแกรม  spss  เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูอาจารย์ การทำวิจัยสถาบันของฝ่ายบริหาร และอื่นๆ
5.การทำ  power point  เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของครูอาจารย์  และใช้เสนอผลงานของผู้บริหารสถานศึกษา
6.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (Computer Assisted Instruction)  หรือ  CAI เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากบทเรียนสำเร็จรูปในคอมพิวเตอร์
7.การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Learning) หรือที่เรียกกันว่า E – learning เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือค่ายอินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีขอจำกัดของเวลา ระยะทาง และสถานที่ โดยผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงตอบสนองศักยภาพ การเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
8.ห้องเรียนอัจฉริยะ  (Electonic Ciaaroom หรือ E-Classroom)  เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบ on-line และปฏิสัมพันธ์ สามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของครู แบบ  real time
9.หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  (E-book) และ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Library) เพื่อเสริม การเรียนการสอน และให้บริการค้นคว้าความรู้แก่นักเรียน ครูอาจารย์ และประชาชน
10.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ “ICT” (Information and Communication Technologies) เพื่อพัฒนาการศึกษา ปัจจุบันประเทศไทยโยกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ เพื่อพัฒนาการสื่อสารในทุกด้าน โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาการครูอาจารย์ การช่วยให้เด็ดและเยาวชนได้เข้าถึงแหล่งความรู้และได้เรียนอย่างทัดเทียมกัน ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการให้ฉับไวมีประสิทธิภาพสูงสุด

ที่มา
           http://th.wikipedia.org/wiki/

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงอะไร

เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงอะไร 
               (http://www.chakkham.ac.th/ )   เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จักการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนาและการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
                   (http://learners.in.th/blog/nsrug )  เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น
                   ไพฑูรย์   ศรีฟ้า  (2546:ไม่ระบุ)  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า  หมายถึง เทคโนโลยีทำนำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล (Data) และประมวลผลข้อมูลให้เกิดผลผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ (Information) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์

               สรุป     เทคโนโลยีสารสนเทศ   หมายถึง   การนำวิชาการที่ก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร มาสร้ามูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

ที่มา

เทคโนโลยี หมายถึงอะไร

เทคโนโลยี  หมายถึงอะไร
                   พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406)  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือวิทยากรเกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ผดุงยศ   ดวงมาลา  (2523 : 16)  ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี  คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆทางอุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึงความรู้หรือศาสตร์เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม แลกิจกรรมอื่นๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
                    ลิปปนนท์    เกตุทัศ  (.. 81)   เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่นๆมาผสมผสานประยุกต์เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่างๆมาใช้ในการผลิต และจำหน่ายให้ต่อเนื่อง ตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่และหากเทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยีนั้นๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
                       ชำนาญ    เชาวกีรติพงษ์  (2534 : 5)  เทคโนโลยี  คือ วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
                       ธรรมนูญ  โรจนะบุรานนท์  (2531:170)  กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิชาการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงโดยปกติเทคโนโลยีนั้น มีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วนกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไป  จึงจะมีประสิทธิภาพสูง


                        เย็นใจ   เลาหวณิช (2530:97)  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่ายๆว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เกิดประโยชน์
                     
                        สมบูรณ์   สงวนญาติ  (2534:16)  ได้กล่าวเกี่ยวกับ เทคโนโลยี ไว้ว่าเทคโนโลยีหมายถึงการนำเอาความรู้ทางศาสตร์สาขาต่างๆมาประยุกต์ให้เกิดระบบที่ดี ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้แก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    (http://leamers.in.th/blog/nsrug )  เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์


                        สรุป
                เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์

ที่มา
http://leamers.in.th/blog/nsrug

นวัตกรรมทางการศึกษา คือ

นวัตกรรมทางการศึกษา  คืออะไร
                    ( http://tikkatar.is.in.th/ )  นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง เครื่องมือ สื่อแนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหา เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร
                 (http://www.namonpit.ac.th/file/ei.pdf )  นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การปรับประยุกต์ ความคิดใหม่ วิธีการใหม่ รูปแบบใหม่ เทคนิคใหม่ แนวทางใหม่ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือจาการคิดค้นข้นมาใหม่ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
                      สมบูรณ์  สงวนญาติ   (2534:14)  ได้กล่าวเกี่ยวกับ นวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมโดยได้มีการทดลองพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบทางการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                      ดวงเดือน  เทศวานิช  (ไม่ระบุ : 169)  นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเทคนิคหรือวิธีการใหม่ๆ มาใช้ปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน
                     
                       สรุป     นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน

ที่มา

นวัตกรรม คืออะไร

นวัตกรรม คืออะไร
                  (http://joomla.ru.ac.ch/mbainnovalion/index.)  นวัตกรรม คือ ความคิดการปฏิบัติ  หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพสุงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย
                  (http://tikkatar.is.in.th/ )  นวัตกรรม คือ เครื่องมือ สื่อ หรือวีการใหม่ๆที่นำมาพัฒนาการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในทางที่ดีมีคุณภาพ และเกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ว่าสื่อหรือวิธีการนั้น จะคิดขึ้นใหม่หรือดัดแปลงปรับปรุงมาจากของเดิม หรือเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วจากที่อื่น และนำมาใช้อีก
               ( http://team.sko.moph.go.th/ )  นวัตกรรม หมายถึง การทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีการใหม่ๆและยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิตกระบวนการ หรือองค์กรไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด
                  สมบูรณ์  สงวนญาติ  ( 2534 : 14 )  ไดกล่าวเกี่ยวกับ นวัตกรรม ไว้ว่า นวัตกรรม หมายถึง การกระทำหรือความคิดใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านตางๆ

สรุป   นวัตกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรืสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นมีผลดี และมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ที่มา
http://joomla.ru.ac.ch/mbainnovalion/index
http://tikkatar.is.in.th
http://team.sko.moph.go.th

มีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และแต่ละทฤษฎีเป็นอย่างไร

<< ( http://www.sahavicha.com ) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bloom ( Bloom's Taxonomy)
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ

1.ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2.ความเข้าใจ (Comprehend)
3.การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้
5.การสังเคราะห์ ( Synthesis ) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม เน้นโครงสร้างใหม่
6.การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด


<<( http://wapedia.mobi/th ) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของเมเยอร์ ( Mayor) ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ความจำเป็นเป็นสิ่งสำคัญ และตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียน โดยแบ่งออกเป็นย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1.พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมสำเร็จได้ควรมีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3.มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

<< ( http://www.bloggang.com/mainblog ) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์ (Bruner)
 1. ความรู้ถูกสร้างหรือหล่อหลอมโดยประสบการณ์

2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกสร้างในภาพรวม



<< ( http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm ) การเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor)
              ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
                การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง หรือการจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
              บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียน ได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมด ของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์การเรียนรู้ จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์ที่แวดล้อม


<<( http://images.sitatarnoi.multiply.multiplycontent.com ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
1. การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2.การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3.การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
4.ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5.ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6.การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7.การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8.การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง











บรรณานุกรม
http://www.bloggang.com/mainblog.
http://www.st.ac.th/av/learn_theo.htm
http://wapedia.mobi/th
http://images.sitatarnoi.multiply.multiplycontent.com/

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีการเรียนรู้เป็นอย่างไร


( http://th.wikipedia.org/wiki/ ) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

http://gotoknow.org/file/phrakhruniwitthurathon/noi.lpg.doc ทฤษฎีการเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นได้ทุกแห่งในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้อาจเกิดจากการลองผิด ลองถูกจากการวางเงื่อนไข ซึ่งอาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เดิมกับสิ่งใหม่ๆ หรือ การเรียนรู้แบบก็ตาม ถือว่าเป็นการเรียนรู้ทั้งสิ้น หรืออาจเกิดจากความต้องการเป็นแรงผลักดัน เพื่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น และเมื่อเกิดความอยากรู้อยากเห็นแล้วก็จะลงมือกระทำการต่างๆ การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งแห่งการปรับตัวให้เข้ากับสังคม สามารถดำรงชีวิตและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น การเรียนรู้ไม่เพียงพอแต่เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายในโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นได้ในสภาพแวดล้อมทั่วไป การเรียนรู้ของนักเรียนจะเริ่มจากสภาพแวดล้อมทางบ้าน และขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเขาได้ก้าวสู่โรงเรียน ซึ่งเป็นแหล่งให้ความรู้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งความรู้ในวิชาชีพที่จะนำไป ประกอบอาชีพได้



http://isc.ru.ac.th/data/ED0002001.doc ทฤษฎีการเรียนรู้ ความหมาย การเรียนรู้หมายถึง กระบวนการ (Process) ที่อินทรีย์มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรหรือค่อนข้างถาวร อันเนื่องมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัดที่เรียกว่าเป็นกระบวนการเพราะการเรียนรู้ต้องอาศัยระยะเวลาในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม และคำว่า พฤติกรรม นั้นไม่ใช่ หมายถึงการแสดงออกแต่เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง ศักยภาพ (Potential) หรือ ความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในของแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่แสดงออกมาให้เห็นเป็นพฤติกรรมที่ชัดเจนได้

วรากร ปะตังทะโล ( http://cyberclass.msu.ac.th ) ทฤษฎีการเรียนรู้ Theory of Learning

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ

ณัฐฎา แสงคำ (http://www.sahavicha.com) ''ทฤษฎีการเรียนรู้ '' (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้ [[ เทคโนโลยี ]] การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน



ทฤษฎีการเรียนรู้จากที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นจึงพอสรุปได้ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน





บรรณานุกรม

http://cyberclass.msu.ac.th

http://www.sahavicha.com

http://th.wikipedia.org/wiki/